วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สื่อ

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน

สื่อ คือเป็นตัวกลางให้ข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์

ในการศึกษาเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า สื่อการสอนและเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้จะเรียกว่า สื่อการเรียน เรียกรวมกันว่า สื่อการเรียนการสอน หรืออาจจะเรียกกันสั้นๆว่า สื่อการสอน หมายถึง อะไร ก็ ได้ไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ ฯลฯในการใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การจำแนกสื่อการสอน
สื่อการสอน ไม่ใช่ เพียงอุปกรณ์ สิ่งประดิษฐ์ ของมนุษย์เท่านั้น แต่ทุกสิ่งในโลก สามารถนำมาเป็นสื่อการสอนได้หมด ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรณ์และสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยมือมนุษย์ เช่น อาคารสถานที่ วัด พิพิธภัณฑ์ ตลาด ฯลฯสื่อต่างๆเหล่านี้เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศจากผู้สอนไปยังผู้เรียน



สื่อโสตทัศน์
คือ สื่อโสตทัศน์เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนโดยการสอนถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม
โรเบิร์ต อี. เดอ คีฟเฟอร์ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะที่ใช้ในการสื่อความหมายทางเสียงและภาพรวมเรียกว่า สื่อโสตทัศน์

  • สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย
  • สื่อใช้เครื่องฉาย
  • สื่อเสียง


สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้

  • ประสบการณ์ตรง
  • ประสบการณ์รอง
  • ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง
  • การสาธิต
  • การศึกษานอกสถานที่
  • นิทรรศการ
  • โทรทัศน์
  • ภาพยนตร์
  • การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง
  • ทัศนสัญลักษณ์
  • วจนสัญลักษณ์

สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้
ทรัพยากร หมายถึง สิ่งทั้งปวงอันมีค่า ทรัพยากรการเรียนรู้ จึงหมายรวมถึงทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดเองโดยธรรมชาติหรือสิ่งที่คนประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้ได้จำแนกสื่อ

การเรียนการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้เป็น 5 รูปแบบ

  1. คน
  2. วัสดุ
  3. อาคารสถานที่
  4. เครื่องมือและอุปกรณ์
  5. กิจกรรม

คุณค่าของสื่อการสอน

สื่อการสอนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้เนื่องจากเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาจากผู้สอนไปยังผู้เรียน หรือเป็นสื่อที่ผู้เรียนใช้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองสื่อการสอนจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอนดังต่อไปนี้

สื่อกับผู้เรียน


สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้

  • เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจง่ายขึ้น
  • สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจ ทำให้เกิดความสนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
  • การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่อนยากต่อความเข้าใจ ช่วยให้เกิด
  • ประสบการณ์ร่วมกันสื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
  • สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์

สื่อกับผู้สอน



  • การใช้สื่อวัตถุประสงค์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศใน
  • การสอนน่า สนใจ
  • ยิ่งยิ่งขึ้น
  • ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้และบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
  • เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุและเรื่องราวใหม่เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

  • ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน

    การใช้สื่อการสอนนั้นอาจใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของสื่อการสอน หรือใช้ในทุก
    ขั้นตอนก็ได้ ดังนี้
    • ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียน สื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน
    • ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็นขั้นสำคัญในการเรียนเพราะเป็นขั้นที่จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    • ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฎีหรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือฝึกปฏิบัติเอง
    • ขั้นสรุปบทเรียน เป็นขั้นของการเรียนการสอนเพื่อย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ
    • ขั้นประเมินผู้เรียน เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อย และบรรลุตามวัตถุประสงค์ตามพฤติกรรมที่ตั้งไว้ สื่อในขั้นประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้


    หลักการออกแบบ Principle of design

    1.ความกลมกลืน Harmony ความกลมกลืนเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้รูปแบบมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตลอดจนเนื้อหาสาระมีเพียงหนึ่งเดียว
    ความกลมกลืนในการออกแบบมีดังนี้
    1.1 ความกลมกลืนของเส้นและรูปร่าง
    1.2 ความกลมกลืนของขนาดและทิศทาง
    1.3 ความกลมกลืนกันของสีและบริเวณว่า
    1.4 ความกลมกลืนกันของความคิดและจุดมุ่งหมาย
    1.5 ความกลมกลืนกันของลักษณะผิวและจังหวะ



    2.สัดส่วน Proportionสัดส่วนเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของขนาดและพื้นที่การออกแบบที่มีสัดส่วนที่ดีจะ ช่วยให้งานออกแบบมีความสมดุล ช่วยให้งานออกมาสวยงามยิ่งขึ้น




    3.ความสมดุล Balance ความสมดุลจะให้ความรู้สึกเท่ากันทั้งสองด้าน ความสมดุลทำให้งานดูสงา่ งาม ความสมดุลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
    3.1 ความสมดุลที่เหมือนกันทั้งสองข้าง /สมมาตร
    3.2 ความสมดุลที่ทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน / อสมมาตร


    4.จังหวะและเคลื่อนไหว Rhythm & Movement เป็นรูปแบบของการเคลื่อนไหว หรือการซ้ำกันของของสิ่งเดียว ตามปกติเราจะพบเห็น จังหวะกันอยู่แล้ว



    5.การเน้น Emphasize

    เป็นการสร้างจุดเด่นเพื่อดึงดูดใจ การเน้นทำได้หลายลักษณะ เช่น การเน้นโดยใช้สี, เส้น,
    รูปร่าง, ขนาด เป็นต้น




    6.เอกภาพ Unity เป็นใจความหลักใจความเดียวของความคิด เป็นสภาพที่อยู่ร่วมกันไม่สามารถแยกออกได ้การออกแบบที่ขาดเอกภาพจะทำให้ขากการจูงใจในการคิด ขาดความสนใจ ขาดจุดเด่น เกิด
    ความสับสนในความหมาย




    7.การตัดกัน Contrast การตัดกัน การขัดกันในลักษณะตรงกันข้าม เพื่อให้ผลงานนั้นมีความเด่นชัด เช่น การใช้สี เหลืองกับสีดำลักษณะการตัดกันเป็นการออกแบบที่ไม่น่าเบื่อ ไม่ซ้ำซาก สามารถสร้างความน่าสนใจ การตัดกันสามารถตัดกันด้วยลักษณะที่ต่างกันดังนี้ ขนาด รูปร่าง ค่าความเข้ม เป็นต้น




    องค์ประกอบการออกแบบ Element of design

    1.จุด Point
    2.เส้น Line
    3.รูปร่างshape
    4.ปริมาตร volume
    5.ลักษณะพื้นผิว Textur
    6.บริเวณว่าง Space
    7.สี Color
    8.น้ำหนัก Value



    วิธีระบบ (System approach)





    ในการดำเนินงานใดๆก็ตามผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบมาใช้ การใช้ข้อมูลป้อนกลับ(feedback ) ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวความคิดไป ประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้

    ความหมายของระบบ

    มีผู้ให้ความหมายของคำว่า ระบบ ไว้หลายคน เช่น บานาธี่ หรือวอง บานาธี่ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
    ลัดดา ศุขปรีดี กล่าวว่า ระบบ หมายถึง การปฏิบัติงานที่สัมพันธ์กันของส่วนประกอบต่าง ๆ ภายใน โครงสร้างของแนวความคิด หรือสิ่งที่ประกอบกันขึ้นเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานไปสู่ อย่างมีประสิทธิภาพ

    ลักษณะของระบบที่ดี
    ของระบบที่ดีระบบที่ต้องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืนการมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
    • มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment)
    • มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)
    • มีการรักษาสภาพตนเอง (self – regulation)
    • มีการแก้ไขตนเอง (self – correction)

    มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
    ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบๆ ตัวของระบบ โลกรอบ ๆ ตัวนี้ เรียกว่า สิ่งแวดล้อม





    มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์

    ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เชน่ ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษยน์ ั้นก็มีจุดมงุ่ หมายสำหรับตัวของระบบเองอย่า่งชัดเจนว่า
    เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ดีที่สุด



    การปรับและแก้ไขตนเอง

    ลักษณะที่ดีของระบบ คือมีการแก้ไขและปรับตัวเอง ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้นก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเองระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่ในสถานการณ์นี้ ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี ร่างกายก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้น โดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด ในขณะที่ระบบสร้าง



    วิธีระบบ (System approach)

    วิธีระบบ (System approach) ได้มีการกล่าวถึงอ้างอิงกันมาก จริงๆ แล้วเกือบจะทุกสิ่งทุก
    อย่างที่เกิดตามธรรมชาติจะถือว่าประกอบด้วยระบบอยู่ทั้งนั้น จักรวาลจัดเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดที่
    เรารู้จัก มนุษย์เป็นระบบย่อยลงมา ระบบแต่ละระบบมักจะประกอบด้วยระบบย่อย
    วิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหา ซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมา
    เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด
    ในปัจจุบันจะพบว่า วิธีระบบนั้นถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง วิธีระบบจะเป็นตัว
    จัดโครงร่าง

    “วิธีระบบ” ระบบจะต้องมี ดังต่อไปนี้

    1. องค์ประกอบ
    2. องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
    3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ


    ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ


    1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
    2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
    3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
    4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อยๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา
    5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
    6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน

    การนำวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นการประยุกต์โดยนำหลักการดังกล่าวข้างต้น
    มาวิเคราะห์และปรับลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับบริบทของการศึกษประกอบด้วยขั้นตอน
    ดังต่อไปนี้


    1. การประเมินความจำเป็น
    2. การเลือกทางแก้ปัญหา
    3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน
    4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย
    5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน
    6. การลำดับขั้นตอนของการสอน
    7. การเลือกสื่อ
    8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น
    9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
    10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ
    11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก





    กระบวนการในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอนอาจมีกิจกรรมต่างๆหลายกิจกรรม



    การติดตามผล ประเมินผล และปรับปรุง เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่างๆทั้งหมดในระบบโดยพิจารณาผลผลิตว่าได้ผล
    เป็นไปดังที่มุ่งหวังไว้หรือไม่มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงบ้าง




    การนำวิธีระบบมาใช้ในการทำงานจริงของผู้ทำรายงาน



    ในฐานะที่เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา จากการที่ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องวิธีระบบพบว่าหาก
    นำวิธีระบบมาใช้ในกระบวนการทำงานอย่างจริงจัง จะทำให้การทำงานดำเนินไปด้วยความ
    เรียบร้อย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล





    การนำวิธีระบบมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียน e-Learning ของมหาวิทยาลัย
    หอการค้าไทย โดยใช้หลักการออกแบบการสอนดังนี้







    1. การวิเคราะห์ (Analysis)
    2. การออกแบบ (Design)
    3. การพัฒนา (Development)
    4. การนำไปใช้ (Implementation)
    5. การประเมินผล (Evaluation)